วันพฤหัสบดีที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2558

เคล็ดลับ เเละ ข้อเเนะนำ


โรคของปลาดุกเลี้ยง
ในกรณีที่มีการป้องกันอย่างดีแล้วแต่ปลาก็ยังป่วยเป็นโรค ซึ่งมักจะแสดงอาการให้เห็น โดยแบ่งอาการของโรคเป็นกลุ่มใหญ่ ๆ ดังนี้
1.
 อาการ ติดเชื้อจากแบคทีเรีย จะมีการตกเลือดมีแผลตามลำตัวและครีบ ครีบกร่อน ตาขุ่น หนวดหงิกกกหูบวม มีน้ำในช่องท้อง กินอาหารน้อยลง หรือไม่กินอาหาร ลอยตัว
2.
 อาการจากปรสิตเข้าเกาะตัวปลาจะมีเมือกมาก มีแผลตามลำตัว ตกเลือด ครีบเปื่อย จุดสีขาวตามลำตัว สีตามลำตัวซีดหรือเข้มผิดปกติเหงือกซีดว่ายน้ำทุรนทุราย ควงสว่านหรือไม่ตรงทิศทาง
3. 
อาการจากอาหารมีคุณภาพไม่เหมาะสม คือ ขาดวิตามินซี กระโหลกร้าว บริเวณใต้คางจะมีการตกเลือด ตัวคด กินอาหารน้อยลง ถ้าขาดวิตามินบีปลาจะว่ายน้ำตัวเกร็งและชักกระตุก
4.
 อาการจากคุณภาพน้ำในบ่อดิน ไม่ดี ปลาจะว่ายน้ำขึ้นลงเร็วกว่าปกติลอยหัวครีบกร่อนเปื่อยหนวดหงิก เหงือกซีดและบวม ลำตัวซีด ไม่กินอาหาร ท้องบวม มีแผลตามตัวอนึ่ง ในการรักษาโรคปลาควรจะได้พิจารณาให้รอบคอบก่อนการตัดสินในการเลือกใช้ยาหรือสารเคมี สาเหตุของโรค ระยะรักษา ค่าใช้จ่ายในการรักษา
5.
 การป้องกันโรค การเกิดโรคของปลาดุกที่เลี้ยงมักจะเกิดจากปัญหาคุณภาพของน้ำในบ่อเลี้ยงไม่ดี ซึ่งอาจเกิดจากสาเหตุของการให้อาหารมากเกิน ไปจนอาหารเหลือเน่าเสีย เราสามารถป้องกัน ไม่ให้เกิดโรคได้โดยต้องหมั่นสังเกตว่าเมื่อหยุดกินอาหารจะต้องหยุดให้อาหารทันที เพราะปลาดุกลูกผสมนิสัยชอบกินอาหารที่ให้ใหม่โดยถึงแม้จะกินอิ่มแล้วถ้าให้อาหารใหม่อีก ก็จะคายหรือสำรอกอาหารเก่าทิ้งแล้วกินอาหารที่ให้ใหม่อีก ซึ่งปริมาณอาหารที่ให้ไม่ควรเกิน 4 - 5 % ของน้ำหนักตัวปลา
วิธีป้องกันการเกิดโรค
ในปลาดุกลูกผสมที่เลี้ยง
1.ควรเตรียมบ่อและน้ำตามวิธีการที่เหมาะสมก่อนปล่อยลูกปลา
2. ซื้อพันธุ์ปลาจากแหล่งที่เชื่อถือได้ ว่าแข็งแรงและปราศจากโรค
3. หมั่นตรวจดูอาการของปลาอย่างสม่ำเสมอถ้าเห็นอาการผิดปกติต้องรีบหาสาเหตุและแก้ไขโดยเร็ว
4. หลังจากปล่อยหลาเลี้ยงแล้ว 3 - 4 วัน ควรสาดน้ำยาฟอร์มาลิน 2 - 3 ลิตร/ปริมาตรน้ำ 100 ตันและหากปลาที่เลี้ยงเกิดโรคพยาธิภายนอกให้ แก้ไขโดยสาดน้ำยาฟอร์มาลินในอัตรา 4 - 5 ลิตร/ปริมาตร น้ำ 100 ตัน
5. เปลี่ยนถ่ายน้ำจากระดับก้นบ่ออย่างสม่ำ
เสมอ 

6. อย่าให้อาหารจนเหลือ
การดูแลรักษาบ่อ
ในการเลี้ยงปลาควรมีการดูแลรักษาบ่อโดยตรวจสภาพบ่อปลาทุกวัน เพื่อสำรวจดูความเรียบร้อย เช่น ดูระดับน้ำในบ่อ ตะแกรงกั้นน้ำเข้าออกและควรหมั่นกำจัดวัชพืช หรือหญ้าที่ขึ้นริมบ่อ หากพบรอยรั่วของบ่อให้รีบซ่อมแซมทันที และควรกำจัดศัตรูของปลาให้หมด
การปรับสภาพน้ำ
เปิดน้ำใส่บ่อจนเต็มจากนั้นใส่จุลินทรีย์ EM จำนวน 1 ลิตร ผสมกากน้ำตาล 1 กิโลกรัม และ
แร่แม๊กนีเซียม จำนวน 3 กิโลกรัม ทิ้งไว้ 5 – 7 วัน เพื่อเป็นการปรับสภาพน้ำและลดการเน่าเสียของน้ำ จากนั้นก็ปล่อยปลาลงเลี้ยงได้

การจับปลา
อย่าจับปลาในช่วง 5 เดือนแรกหลังจากนั้นอาจจับปลาได้ขนาดสัปดาห์ละ 4-5 ตัวเพื่อบริโภคในครัวเรือน และเมื่อปลาโตได้ขนาดประมาณ 6 เดือนก็สามารถจับขายได้


การเตรียมพันธ์ปลา
การเลือกซื้อลูกปลาควรพิจารณาปัจจัยต่าง ๆ  ดังนี้
          1.  แหล่งพันธุ์หรือบ่อเพาะฟัก  ควรดูจาก
              -  ความน่าเชื่อถือและไว้วางใจได้ในเรื่องคุณภาพ
              -  มีการคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์  เพื่อให้ได้พันธุ์ที่มีคุณภาพ
              -  มีความชำนาญในการขนส่งลูกปลา
          2.  ลักษณะภายนอกของลูกปลาต้องปกติสมบูรณ์  ซึ่งสังเกตจาก
              -  การว่ายน้ำต้องปราดเปรียว  ไม่ว่ายควงสว่าน  หรือลอยตัวตั้งฉากพื้นบ่อ
              -  ลำตัวสมบูรณ์  หนวด  หาง  ครีบ  ไม่กร่อน  ไม่มีบาดแผล  ไม่มีจุดหรือปุยขาวเกาะ
              -  ขนาดลูกปลาต้องเสมอกัน

การปล่อยลูกปลาบ่อเลี้ยง

              เมื่อขนส่งลูกปลามาถึงบ่อที่เตรียมไว้ควรแช่ถุงปลาไว้ในบ่อประมาณ  10-15  นาที  เพื่อปรับอุณหภูมิระหว่างน้ำในถุงกับน้ำในบ่อเพื่อป้องกันลูกปลาช็อค  ก่อนปล่อยลูกปลาควรมีการทำร่มเงาไว้ในบ่อให้ลูกปลาได้ใช้เป็นที่อยู่อาศัย
 อัตราการปล่อย
               เกษตรกรรายใหม่  ควรปล่อยลูกปลาขนาดปลานิ้ว  จะทำให้อัตราการรอดสูง  อัตราการปล่อย  ปลาขนาด 2-3  เซนติเมตร  ปล่อย  80,000-100,000  ตัว/ไร่  ก่อนปล่อยควรสุ่มนับจำนวนเพื่อตรวจสอบให้รู้จำนวนจริง
อาหารและการให้อาหาร
               ต้นทุนการผลิตปลาประมาณ  80%  เป็นค่าอาหาร  เพราะฉะนั้นการเลี้ยงใช้อาหารเป็นสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญเป็นพิเศษ

การเลือกซื้ออาหาร

ลักษณะของอาหาร

          -  สีสันดี
          -  กลิ่นดี  ไม่เหม็นหืน
          -  ขนาดเม็ดสม่ำเสมอ  ไม่เป็นฝุ่น
          -  การลอยตัวของอาหารในน้ำอยู่ได้นาน
          -  อาหารไม่เปียกชื้น  ไม่จับตัวเป็นก้อน  ไม่ขึ้นรา

ประเภทของอาหารสำเร็จรูป
          -  อาหารสำหรับลูกปลาวัยอ่อน  ใช้สำหรับลูกปลาขนาด  1 – 4  เซนติเมตร
          -  อาหารปลาดุกเล็กพิเศษ  ใช้สำหรับลูกปลาขนาด  3  เซนติเมตร – 1  เดือน
          -  อาหารปลาดุกเล็ก  ใช้สำหรับปลาอายุ  1-3  เดือน
          -  อาหารปลาดุกใหญ่  ใช้สำหรับปลาอายุ  3  เดือน  -  ส่งตลาด

วิธีการให้อาหารปลา
                เมื่อปล่อยลูกปลาวันแรกไม่ต้องให้อาหาร  จะเริ่มให้อาหารวันถัดไป  อาหารที่ให้เป็นอาหารลูกปลาวัยอ่อน  พรมน้ำ แล้วนวดจนเหนียวปั้นเป็นก้อนแล้วเสียบกับไม้ปักไว้รอบบ่อปริมาณที่ให้ต้องให้ปลากินหมด ภายในเวลา  30-60  นาที  โดยให้อาหารประมาณ  1  สัปดาห์      หลังจากนั้นอาจจะให้อาหารปลาดุกเล็กพิเศษแช่น้ำให้นิ้มแล้วปั่นรวมกับอาหารลูกปลาวัยอ่อนให้ปลากิน    เมื่อปลาโตพอกินอาหารเม็ดได้ก็เริ่มให้อาหารปลาดุกเล็กพิเศษอย่างเดียวหว่านให้กินกระจายทั่วบ่อ  ปริมาณที่ให้กะหมดภายใน  30  นาที  ให้กินจนลูกปลาอายุ  1 เดือน   ให้อาหารปลาดุกเล็กโดยให้ในแต่ละมื้อควรให้ปลากินหมดภายใน  30  นาที ช่วงนี้ควรเริ่มฝึกให้ปลากินอาหารเป็นที่   โดยให้อาหารจุดเดิมประจำปละเคาะหลักไม้ทุกครั้งเมื่อมีการให้อาหาร การให้อาหารปลาจะให้  2 มื้อ  ต่อวันให้อาหารปลาดุกเล็กจนลูกปลามีอายุ  2  เดือน  ให้อาหารปลาดุกใหญ่  ปริมาณที่ให้แต่ละมื้อจะต้องให้ปลากินหมดภายใน  30  นาที่  โดยให้อาหาร  2  มื้อ   ในกรณีปลาป่วย  หรือกินอาหารลดลงให้ลดปริมาณอาหารลงครึ่งหนึ่งของปริมาณที่ให้ปกติ  ในกรณีเกิดจากสภาพน้ำ  หรือการเปลี่ยนแปลงของอากาศให้ปรับสภาพน้ำโดยทำการเปลี่ยนถ่ายน้ำ  หรือใส่เกลือ  หรือปูนขาว   ถ้าพบว่าปลาที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียให้ผสมปฏิชีวนะ  3-5 กรัมต่ออาหาร  1  กิโลกรัม  ให้กินติดต่อกัน  7  วัน  เช่น  อาออกชีเตตร้าซัยคลิน    ถ้าเกิดจากพยาธิภายนอกให้รักษาตามลักษณะของพยาธินั้น ๆ  เช่นถ้าพบปลิงใส  เห็บระฆัง  เกาะจำนวนมาก  หรือเริ่มทยอยตายให้ใช้ฟอร์มาลินเข้มข้น  30-40  ซีซี/น้ำ  1,000  ลิตร  ฉีดพ่นหรือสาดลงในบ่อแช่ทิ้งตลอด




การให้อาหารปลาดุก

วิธีการเลี้ยงและการให้อาหาร
บ่อเลี้ยงปลาดุกควรพิจารณาเป็นพิเศษ แตกต่างจากการเลี้ยงปลาชนิดอื่น ทั้งนี้ทั้งนั้น เนื่องจากปลาดุกมีนิสัยชอบหนีออกจากบ่อเลี้ยง โดยเฉพาะขณะที่ฝนตกน้ำไหลลงในบ่อ ปลาจะว่ายทวนน้ำออกไป การป้องกันโดยการล้อมขอบบ่อด้วยตาข่ายไนล่อนก่อน ซึ่งให้มีความสูงประมาณ 50 ซม. อัตราการปล่อยในเนื้อที่ 1 ตารางเมตร ควรปล่อยปลาประมาณ 60 ตัว สำหรับบ่อปลาที่มีการถ่ายเทน้ำได้สะดวก จะเพิ่มจำนวนปลาให้มากกว่านี้เล็กน้อยก็ได้ แต่ไม่ควรปล่อยปลาให้แน่นจนเกินไป เพราะจะทำให้ปลาโตช้าและทำอันตรายกันเอง

อาหาร

ปลาดุกเป็นปลาที่มีนิสัยการกินอาหารได้ทั้งเนื้อและพืช ซึ่งพอจะแบ่งได้ดังนี้
1. อาหารจำพวกเนื้อ ได้แก่ เนื้อปลา เนื้อสัตว์ต่างๆ ที่เหมาะสมตามที่จะหาได้ หรือเครื่องในสัตว์ตลอดจนเลือดสัตว์ และพวกแมลง เช่น ปลวก หนอน ไส้เดือนฯลฯ
2. อาหารจำพวกพืชผัก ได้แก่ รำข้าว ปลายข้าว กากถั่ว กากมัน แป้ง ข้าวโพด และผักต่างๆ เพื่อเป็นการเพิ่มอาหาร อาจให้มูลสัตว์ เช่น มูลไก่ มูลหมู มูลสัตว์เหล่านี้จะเป็นอาหารทั้งทางตรงและทางอ้อมแก่ปลาดุกได้เป็นอย่างดี
โดยทั่วไปแล้วปลาดุกชอบกินอาหารประเภทเนื้อสัตว์ มากกว่าอาหารประเภทพืช แต่การให้อาหารประเภทเนื้อสัตว์เพียงอย่างเดียว จะทำให้ปลาเจริญเติบโตไม่ได้สัดส่วน เช่น อาจทำให้ตัวอ้วนสั้น มีไขมันมากเกินไป ดังนั้น เพื่อให้ปลาโตได้สัดส่วนมีน้ำหนักดี ควรให้อาหารประเภทเนื้อในอัตรา 30-50 % ของอาหารประเภทพืช
บริเวณที่ให้อาหารในแต่ละครั้งควรให้อาหารในที่เดียวกัน และควรให้อาหารเป็นเวลา เพื่อฝึกให้ปลารู้เวลาและกินอาหารเป็นที่ ปริมาณการให้อาหารควรให้อาหาร 5 % ของน้ำหนักตัวต่อวัน
ปัจจุบันการเลี้ยงปลาดุกจะใช้อาหารสำเร็จรูปและจะเสริมพวกอาหารสด เพื่อเป็นการลดต้นทุนค่าอาหาร และทำให้ปลาโตเร็ว แต่ข้อเสียของการให้อาหารสดคือ จะทำให้น้ำเสียได้ง่าย ดังนั้นควรมีการเปลี่ยนถ่ายน้ำบ่อยๆ ประมาณเดือนละ 1-2 ครั้ง

สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงปลาดุกในบ่อดินคือ ลูกปลาดุกที่ไม่สามารถกินอาหารเม็ดเล็กได้ และมีอัตราการตายสูง ทำให้ต้องขบคิดแก้ไขปัญหานี้ คุณนิพนธ์ จึงลองใช้วิธีต่างๆจนประสบความสำเร็จในระดับที่พอใจตนเองและนำไปถ่ายทอดกับเพื่อนๆสมาชิกที่เลี้ยงปลาดุกในบ่อดินด้วยกัน ทำให้ปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นคลี่คลายลงได้ 

การให้อาหารลูกปลาดุกและลดอัตราการตายของปลาดุกในบ่อดิน 

คุณนิพนธ์ บุญเต็ม เกษตรกรผู้เลี้ยงปลาดุกในบ่อดิน กล่าวแนะนำเกษตรกรที่เลี้ยงปลาดุกในบ่อดิน ว่า
1.การเลี้ยงปลาดุกในบ่อดิน เรื่องการให้อาหาร เมื่อปล่อยลูกปลาดุกลงในบ่อดินแล้ว อาหารที่ให้ในช่วงที่ลูกปลาดุกมีขนาดเล็ก ( 2-3 ซม.) โดยใช้อาหารปลาดุกเม็ดใหญ่ผสมกับน้ำ คลุก-ขยำให้เข้ากัน จนสามารถปั้นเป็นก้อนได้ จากนั้นปั้นเป็นก้อนให้ลูกปลาดุกกิน โดยให้กินวันละ 2 ครั้ง หว่านให้กินทั่วบ่อ หรือปั้นเป็นก้อนขนาดเท่ากับกำปั้นวางไว้บริเวณขอบบ่อ ทุกมุมบ่อเพื่อให้ลูกปลาดุกไปกินได้โดยไม่ถูกตัวอื่นๆแย่งและกินได้อย่างทั่วถึง ลูกปลาดุกไม่กัดกันเองไม่เสี่ยงต่อการเกิดอัตราการตายได้

2.เมื่อลูกปลาดุกได้ขนาดประมาน 15 ซม. จำเป็นต้องเปลี่ยนการให้อาหาร อาจจะเป็นอาหารเม็ดอย่างเดียวก็ได้ แต่แนะนำว่าควรมีการเสริมด้วยอาหารอื่นๆซึ่งอาจจะช่วยในการลดต้นทุนอาหารเม็ดหรืออาหารสำเร็จรูปด้วย ปลารวมหรือปลาเป็ด โดยนำปลาเป็ดบดให้ละเอียดแล้วนำไปผสมกับผสมรำละเอียดในอัตราส่วน 9 : 1 แล้วปั้นเป็นก้อนวางไว้มุมบ่อหรือหว่านลงบ่อก็ได้ วิธีนี้จะช่วยในการประหยัดต้นทุนในการเลี้ยงปลาดุกได้ หรือพื้นที่ใดไม่มีปลาเป็ดอาจจะเปลี่ยนเป็น กระดูกไก่ ไส้ไก่ เศษขนมปัง เศษเส้นหมี่ เศษเลือดหมู เลือดไก่ นำมาบดรวมกันแล้วผสมกับรำในอัตราส่วนเช่นเดิมให้ปลากิน แต่ควรระมัดระวังเรื่องคุณภาพของน้ำในบ่อเลี้ยงด้วย

3.เมื่อเลี้ยงปลาดุกในบ่อดินได้ระยะเวลา 3-4 เดือนควรมีการแยกบ่อปลาดุกเพราะปริมาณปลาดุกในบ่อแออัดมากเกินไป ทำให้เกิดอัตราการตายได้สูง ส่งผลกระทบกับรายได้และรายจ่ายของเกษตรกรผู้เลี้ยงได้ จึงแนะนำให้เกษตรกรแยกปริมาณปลาดุกหรือย้ายปลาดุกไปอีกบ่อ เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นนั้นเอง

เกษตรกรผู้เลี้ยงปลาที่ต้องการเลี้ยงปลาดุกในบ่อดินนำข้อมูลไปประยุกต์ใช้จะสามารถลดอัตราการตายของลูกปลาดุกในบ่อดิน ลดต้นทุนอาหารของการเลี้ยงปลาดุกได้เป็นอย่างดี

การเลือกอาหารปลา
ถือเป็นเรื่องที่สำคัญลำดับต้นๆ ของการเลี้ยงปลาดุก เพราะต้นทุนกว่า 80% ของการเลี้ยงปลาดุกอยู่ที่อาหารครับ เราจึงต้องพิถีพิถันในการเลือกอาหารปลาให้มาก ไม่ว่าจะเป็นสีสัน กลิ่น ขนาดของเม็ด การลอยตัวในน้ำ ล้วนต้องเอาใจใส่มากๆเลย
1. เลือกอาหารให้เหมาะกับอายุของปลาด้วย หากเลือกไม่เหมาะสม จะทำให้ปลากินอาหารไม่ได้ หรือ การให้อาหารไม่เพียงพอครับ
- ลูกปลาดุกขนาด 1-4 เซ็นติเมตร เลือกใช้อาหารปลาดุกขนาดเล็กพิเศษ
- ลูกปลาดุกขนาด 3 เซ็นติเมตร เลือกใช้อาหารสำหรับปลาดุก 1-3 เดือน
2. ขนาดของเม็ดต้องใกล้เคียงกัน ไม่มีกลิ่นหืน  ไม่เป็นฝุ่น
3. การลอยตัวในน้ำ ไม่ควรจมลมเร็วเกินไปครับ เพราะนั่นหมายถึงอาหารปลาอาจจะมีความชื้นมากเกินไป
4. ระวังอาหารปลาที่ขึ้นราด้วยนะครับ เพราะจะเป็นสาเหตุให้ลูกปลาตายได้จำนวนมากครับ

การให้อาหารปลาดุก

อาหารนับเป็นปัจจัยสำคัญ เนื่องจากต้นทุนการเลี้ยงปลาดุกประมาณ 60-70 เปอร์เซ็นต์เป็นค่าอาหาร อาหารที่ใช้เลี้ยงหากมีสารอาหารต่างๆ ครบถ้วนและมีปริมาณเพียงพอ จะส่งผลให้ปลามีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง ปราศจากโรคต่างๆ อาหารที่ใช้เลี้ยงต้องมีสารอาหารครบถ้วนปริมาณเพียงพอ และจะต้องมีความสมดุลกันระหว่างสารอาหารแต่ละชนิดด้วย

ปลาดุกเป็นปลาที่กินอาหารได้ทั้งเนื้อและผัก ซึ่งพอจะแบ่งออกเป็นพวกได้ดังนี้
1. อาหารจำพวกเนื้อ ได้แก่ เนื้อปลาและเนื้อสัตว์ต่างๆ ที่เหมาะสมตามแต่จะหามาได้ หรือเครื่องใน เช่น เครื่องในวัว ไก่ และสุกร ตลอดจนเลือดสัตว์และพวกแมลงต่างๆ เช่น ปลวก หนอน ตัวไหม และไส้เดือน เป็นต้น
2. อาหารจำพวกพืชผัก ได้แก่ รำข้าว ปลายข้าว กากถั่ว กากมัน แป้ง ข้าวโพด แป้งมัน เป็นตัน และผักต่างๆนอกจากนี้เพื่อเป็นการเพิ่มอาหารให้กับปลา ผู้เลี้ยงอาจจะใส่มูลสัตว์ เช่น มูลไก่ สุกร แพะ ฯลฯ โดยสร้างคอกเลี้ยงสัตว์ให้อยู่ใกล้กับบ่อเลี้ยงปลา ซึ่งมูลสัตว์เหล่านี้จะเป็นอาหารทั้งทางตรงและทางอ้อมแก่ปลาดุกเป็นอย่างดี

โดยทั่วไปแล้วปลาดุกชอบกินอาหารประเภทเนื้อสัตว์มากกว่าอาหารประเภทพืชและแป้ง แต่การให้อาหารประเภทเนื้อสัตว์เพียงอย่างเดียวจะทำให้ปลาเจริญเติบโตไม่ได้สัดส่วน เช่น อาจทำให้ตัวอ้วนสั้น มีไขมันมากเกินไป ดังนั้นเพื่อให้ปลาเจริญเติบโตได้สัดส่วนและน้ำหนักดี ควรจะให้อาหารประเภทเนื้อในอัตรา 30-50 เปอร์เซ็นต์ ของอาหารประเภทผักและแป้ง

ลักษณะของอาหาร
อาหารที่ใช้เลี้ยงปลาดุกในปัจจุบัน แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ อาหารสำเร็จรูปชนิดเม็ดลอยน้ำและจมน้ำ และอาหารสด

1. อาหารสำเร็จรูป มีระดับโปรตีนที่แตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนาดของปลาที่จะให้ มีหลายยี่ห้อและราคาแตกต่างกันไป วิธีการให้อาหารสำเร็จรูปค่อนข้างง่าย เพียงแต่สาดอาหารลงในบ่อเลี้ยงให้ปลากินก็เสร็จแล้ว แต่การเลือกซื้ออาหารสำเร็จรูปนั้นจะต้องพิจารณาจากความคงทนในน้ำ ควรอยู่ในน้ำได้นานไม่ต่ำกว่า 15 นาที ส่วนประกอบของอาหารควรละเอียด มิฉะนั้นจะย่อยยาก และราคาต้องเหมาะสมด้วย

2. อาหารสด ได้แก่ ไส้ไก่ ไส้ปลา ปลาเป็ด หรือเศษอาหารจากโรงงาน อาหารเหล่านี้สามารถหาซื้อได้ราคาถูก ควรนำมาใช้เสริมให้แก่ปลาด้วย ก่อนนำมาใช้ควรบดให้ละเอียดและผสมรำ การให้อาหารควรให้กินเป็นที่ และควรให้ที่เดิมทุกครั้ง อย่าสาดทั่วบ่อ เพราะจะทำให้น้ำเสียได้ง่ายขึ้น ติดโรคได้ง่าย การถ่ายน้ำบ่อยครั้งจะทำให้ปลาโตเร็วขึ้น เพราะการที่ปลาได้น้ำใหม่บ่อยๆ ทำให้ปลามีความกระปรี้กระเปร่าและกินอาหารได้มาก

เมื่อเลี้ยงไปได้ระยะหนึ่งน้ำในบ่อจะมีคุณภาพเสื่อมลง เนื่องจากสิ่งขับถ่ายออกมาจากตัวปลาและเศษอาหารที่เหลือตกค้างในบ่อ จึงจำเป็นต้องมีการเปลี่ยนน้ำโดยระบายน้ำออกประมาณ 3/4 ของน้ำในบ่อ และเติมน้ำใหม่เข้ามาแทนที่ จำนวนครั้งของการถ่ายน้ำออกจากบ่อขึ้นอยู่กับปริมาณอาหารที่ให้ หากกำหนดปริมาณอาหารให้เหมาะสมให้ปลากินได้หมด การถ่ายเทน้ำจะมีจำนวนน้อยครั้ง ทั้งนี้ต้องสังเกตการกินอาหารของปลาประกอบไปด้วย หากปลากินอาหารน้อยลงจากปกติหรือมีอาหารเหลือลอยอยู่ในบ่อมาก ก็ถึงเวลาที่จะต้องถ่ายเทน้ำเพื่อช่วยปลาไม่ให้ตาย เนื่องจากน้ำเสีย หรือในบ่อมีกลิ่นมาก สีของน้ำเปลี่ยนเป็นสีขาวขุ่นคล้ายน้ำข้าวต้องรีบเปลี่ยนน้ำทันที หากจำเป็นไม่อาจถ่ายเทน้ำได้ในช่วงนี้ ต้องใช้เกลือแกงในอัตรา 3-4 กิโลกรัมต่อน้ำ 10 ลูกบาศก์เมตร สาดไปทั่วบ่อหลังจากนั้น 3-4 วันจึงเปลี่ยนน้ำใหม่ โดยปกติแล้วการถ่ายเทน้ำในบ่อ เมื่อปลายังมีขนาดเล็กจะมีการถ่ายเทน้อยครั้ง และเมื่อปลาโตขึ้นจำนวนครั้งการถ่ายน้ำในแต่ละเดือนจะมีมากขึ้นตามไปด้วย
นอกจากการเอาใจใส่วิธีการหรือเทคนิคในการเลี้ยงปลาดุกแล้วเรื่องของอาหารก็สำคัญไม่แพ้กัน วันนี้เราจึงอยากเสนอสูตรการทำอาหารปลาดุกเองแบบง่ายๆมานำเสนอให้ผู้คนที่สนใจอยากลองทำอาหารเลี้ยงปลาดุกของตัวเองกันครับ การทำอาหารเองนั้นจะทำให้เราสามารถมั่นใจได้เลยว่าอาหารที่ให้ปลาดุกของเรามีคุณภาพมากน้อยเพียงใดเพราะเราเป็นคนปรุงส่วนผสมเองทั้งหมด ซึ่งนับว่าเป็นการช่วยประหยัดและลดต้นทุนค่าใช้จ่ายไปในตัอีกด้วย 
สูตรการทำอาหารปลาดุกไว้ใช้เอง อย่างง่ายๆและได้ผลดี

วัสดุที่ต้องเตรียม

  1. รำละเอียด 2 กระสอบปุ๋ย
  2. กากมะพร้าว 1 กระสอบปุ๋ย
  3. ปลาป่น 6 กิโลกรัม
  4. กากถั่วเหลือง 6 กิโลกรัม
  5. จุลินทรีย์ EM 1 ลิตร
  6. กากน้ำตาล 1 กิโลกรัม
  7. น้ำมันพืช 1 / 2 ลิตร

ขั้นตอนวิธีการทำอาหารปลาดุก

  1. นำส่วนผสมข้อ 1 1 กระสอบ ข้อ 2,3,4 คลุกให้เข้ากัน
  2. นำส่วนผสม ข้อ 5,6 ผสมน้ำ 20 ลิตร เพื่อคลุกเคล้าส่วนผสม ข้อ 1 หมักไว้ 12 ชั่วโมง
  3. นำส่วนผสมที่หมักไว้ในข้อ 1,2 ผสมกับรำละเอียด 1 กระสอบและน้ำมันพืช 1 ? 2 ลิตรคลุกเคล้านำเข้าเครื่องอัดเม็ดผึ่งแดด 2 วัน เก็บไว้ได้ 2 เดือน












วันพุธที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2558

การเตรียมบ่อ

วิธีการเตรียมบ่อ
1. บ่อใหม่ ปกติแล้วดินจะมีสภาพเป็นกรดอ่อนๆ หรืออาจมีสภาพเป็นกรดสูง ขึ้นอยู่กับลักษณะท้องที่ ฉนั้นควรใส่ปูนขาวในอัตรา 1 กก. ต่อพื้นที่ 10-25 ตารางเมตร โดยสาดปูนขาวให้ทั่วบ่อแล้วตากบ่อไว้ประมาณ 7-10 วัน จึงสูบน้ำเข้าบ่อตามระดับที่ต้องการ แต่ควรมีระดับน้ำลึกประมาณ 50 ซม. แล้วจึงปล่อยปลาลงเลี้ยง
2. บ่อเก่า สำหรับบ่อเก่าควรสูบน้ำให้แห้งแล้วตากบ่อประมาณ 10-15 วัน พร้อมทั้งโรยปูนขาวให้ทั่วบ่อ ในอัตราส่วนปูนขาว 1 กก. ต่อพื้นที่ 10 ตารางเมตร เพื่อให้แสงแดดทำลายเชื้อโรคต่างๆ ที่มีอยู่เดิม เมื่อเลี้ยงปลาดุกได้ประมาณ 3-4 รุ่น ควรลอกเลนและทำคันบ่อใหม่ เนื่องจากบ่ออาจตื้นเขินและขอบดินอาจเป็นรูหรือโพรง ทำให้บ่อเก็บกักน้ำไม่อยู่
1. ต้องเลือกทำเลที่เหมาะสมควรตั้งอยู่ใกล้แหล่งน้ำหรือที่สามารถนำน้ำเข้าบ่อได้สะดวก ลักษณะของดินควรอุ้มน้ำได้ดี เช่นดินเหนียว ซึ่งบ่อเลี้ยงปลาควรขุดในพื้นที่ลาดเอียงเล็กน้อย ไม่ควรสร้างในที่ลาดเอียงมากหรือที่น้ำท่วมถึง และบ่อเลี้ยงปลาควรอยู่กลางแจ้ง และควรอยู่ใกล้บ้านจะได้ปลอดภัยจากขโมย และดูแลรักษาปลาได้สะดวก
2. การขุดบ่อปลา- ขั้นแรกคือการวางผังหรือกำหนดเขตวางแนวบ่อปลาลงบนผืนดินที่เลือกแล้ว โดยกำหนดให้แต่ละด้านยาวประมาณ 14 เมตร โดยให้เป็นความยาวของบ่อด้านละ 10 เมตร ส่วนอีกด้านละ 2 เมตรเป็นขอบบ่อแต่ละด้าน จากนั้นให้ถางพื้นที่ให้ปราศจากต้นไม้ พุ่มไม้ และหญ้า ขุดตอและรากไม้ออกให้หมด
- ขุดดินผิวหน้าลึกประมาณ 20 ซม.ออกให้ทั่วบริเวณที่จะขุดบ่อปลาแล้วนำไปกองรวมไว้ด้านข้าง จากนั้นจึงทำการขุดบ่อปลาแล้วควรปรับก้นบ่อให้เรียบโดยปรับให้ลาดเอียงจากตื้นไปหาลึก บ่อข้างที่ตื้นควรให้มีระดับน้ำลึกประมาณหัวเข่า ส่วนบ่อข้างที่ลึกควรให้มีระดับน้ำลึกประมาณเอว จากนั้นนำดินผิวหน้าที่ขุดออกซึ่งกองอยู่ริมบ่อไปถมที่ขอบบ่อ ( กว้าง 2 เมตร ) สร้างให้เป็นคันบ่อ แต่ไม่ควรสร้างให้ขอบบ่อชันเกินไป แต่ควรทำให้เอียงลาดเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของขอบ่อ จากนั้นให้กระทุ้งดินที่ขอบบ่อให้แน่นเพื่อให้ขอบบ่อแข็งแรงเพื่อป้องกันการกัดเซาะของน้ำในบ่อและป้องกันการรั่วซึมของขอบบ่อ
- เมื่อขุดบ่อเสร็จแล้ว ในการระบายน้ำเข้าบ่อควรทำทางน้ำเข้าบ่อด้านน้ำตื้นให้ท่อระบายน้ำอยู่เหนือระดับน้ำในบ่อเพื่อระบายน้ำได้สะดวกและควรทำท่อระบายน้ำออกจากบ่อด้านน้ำลึกเพื่อป้องกันไมให้น้ำล้นบ่อเพื่อป้องกันไม่ให้น้ำไหลเข้าบ่อมากเกินไปซึ่งท่อน้ำเข้าและท่อน้ำออกนี้สามารถทำได้โดยใช้ลำไม้ไผ่ที่ทะลุปล้องมาใช้เป็นท่อระบายน้ำ
- เมื่อขุดบ่อปลาเสร็จแล้วนำดินผิวหน้าที่ขุดกองไว้ไปตบแต่งคันดินแล้วปลูกหญ้าบนคันดินเพื่อป้องกันดินพังทะลายหรือถูกชะล้างไหลลงบ่อเวลาฝนตกหรือจะปลูกพืชผัก เช่น มะละกอ พริก มะเขือหรือมะพร้าวแทนหญ้าก็ได้
3. การระบายน้ำเข้าบ่อปลาทำได้โดยใช้ลำรางเล็กๆซึ่งเป็นวิธีที่สะดวกและประหยัดและถ้าเป็นการระบายน้ำมาจากลำธารควรระมัดระวังอย่าให้ปลาชนิดอื่นติดมาด้วยซี่งสามารถป้องกันได้โดยใช้ตะแกรงตาถี่ขวางกั้นที่ปากท่อน้ำเข้าบ่อ และถ้าหากไม่มีตะแกรงตาถี่ก็สามารถใช้กับดักปลา เผือกไม้ไผ่ หม้อดินที่เจาะรูที่ก้น หรือกระป๋องนมที่เจาะรูที่ก้นใช้สวมที่ท่อไม่ไผ่
4. การใส่ปุ๋ยในบ่อปลาเป็นการช่วยเพิ่มอาหารธรรมชาติให้แก่ปลาในบ่อซึ่งสามารถทำได้ง่ายๆโดยใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก โดยสร้างเป็นคอกเล็กๆไว้ริมขอบบ่อด้วยไม่ไผ่หรือไม้อื่นๆที่ขอบบ่อด้านน้ำตื้นแล้วใส่ปุ๋ยลงไปในคอกที่เตรียมไว้ ต่อมาน้ำในบ่อก็จะเป็นสีเขียวแสดงว่าเกิดอาหารธรรมชาติในบ่อเพิ่มขึ้นวึ่งจะทำให้ปลาเจริญเติบโตเร็วขึ้นและเพื่อรักษาน้ำในบ่อปลาให้เขี้ยวอยู่เสมอให้ใส่ปุ๋ยในคอกหนึ่งถังทุกสัปดาห์ ซึ่งการทำปุ๋ยคอก มีวิธีการทำดังนี้
- เตรียมกองปุ๋ยคอกไว้ใกล้ๆบ่อปลาให้อยู่ในที่ร่ม จะได้ไม่เปียกฝน
- การทำปุ๋ยคอกให้เตรียมเป็นชั้นๆ ชั้นแรกเป็นพวกหญ้า หรือใบไม้ ผสมคลุกเคล้ากับดินจากผิวหน้าดิน แล้วรดน้ำให้เปียกกชุ่มเพื่อช่วยให้หญ้าและใบไม้เน่าสลายตัวเร็วขึ้น
- ชั้นที่ 2 เป็นชั้นของมูลสัตว์โดยผสมคลุกเคล้ากับดินจากผิวหน้าดินแล้วรดด้วยน้ำให้เปียกชุ่ม ส่วนมูลสัตว์ที่ใช้ได้จากสัตว์หลายชนิด เช่น หมู ไก่ เป็ด แกะ แพะ วัว ควาย ในกรณีที่หาข้อมูลยากอาจใช้เมล็ดฝ้าย ผลไม้เน่าเสีย ขยะจากบ้านเรือน ขี้เถ้า หรืออุจจาระมนุษย์แทนได้
- ชั้นถัดมา และชั้นของหญ้าและใบไม้และชั้นของฒูลสัตว์สลับกันไปจนได้ขนาดของกองปุ๋ยตามต้องการ
- จากนั้นรักษากองปุ๋ยคอกให้ชุ่มอยู่เสมอ โดยรดน้ำ 2-3 วันแล้วปล่อยให้ปุ๋ยคอกสลายตัวไปเองซึ่งใช้เวลานานประมาณ 1 เดือน และเวลาจะใช้ให้โกยปุ๋ยคอกจากชั้นล่างหรือส่วนที่สลายตัวมากที่สุดนำไปใส่ในบ่อปลา จากนั้นก็ให้เพิ่มปุ๋ยในกองปุ๋ยทุกสัปดาห์จะได้มีปุ๋ยใช้อย่างสม่ำเสมอ
การปล่อยปลาลงเลี้ยงในบ่อ
ก่อนที่จะปล่อยปลาลงเลี้ยงในบ่อควรจะมีการเตรียมลูกพันธุ์ปลาให้พร้อม ซึ่งอาจจะหาได้จากแหล่งเลี้ยงปลาอกชนหรือสถานีประมง ในการปล่อยปลาลงเลี้ยงไม่ควรปล่อยหนาแน่นกเกินไป เพราะปลาจะโตช้าและมีขนาดเล็กกว่าที่ควร และถ้าหากต้องการเลี้ยงปลาหลายชนิดรวมกันควรขอคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการประมง
ในการปล่อยปลาควรตรวจสอบอุณหภูมิของน้ำในบ่อปลาปละน้ำจากถุงลำเลียงปลาไม่ควรแตกต่างกันจนเกินไป ซึ่งสามารถตรวจสอบได้ง่ายโดยใช้มือข้างหนึ่งจุ่มในน้ำที่บรรจุลูกปลาอีกข้างจุ่มลงในบ่อเลี้ยงปลา และในการปล่อยควรค่อยๆเติมน้ำจากบ่อปลาลงไปในภาชนะที่บรรจุลูกปลาจนกระทั้งน้ำมีอุณหภูมิเท่ากัน ไม่ควรเทปลาจากภาชนะลงในบ่อโดยตรง
การดูแลรักษาบ่อในการเลี้ยงปลาควรมีการดูแลรักษาบ่อโดยตรวจสภาพบ่อปลาทุกวัน เพื่อสำรวจดูความเรียบร้อย เช่น ดูระดับน้ำในบ่อ ตะแกรงกั้นน้ำเข้าออกและควรหมั่นกำจัดวัชพืช หรือหญ้าที่ขึ้นริมบ่อ หากพบรอยรั่วของบ่อให้รีบซ่อมแซมทันที และควรกำจัดศัตรูของปลาให้หมด
การจับปลาอย่าจับปลาในช่วง 5 เดือนแรกหลังจากนั้นอาจจับปลาได้ขนาดสัปดาห์ละ 4-5 ตัวเพื่อบริโภคในครัวเรือน และเมื่อปลาโตได้ขนาดประมาณ 6 เดือนก็สามารถจับขายได้
การเตรียมน้ำ น้ำบาดาล น้ำบ่อ น้ำในแหล่งน้ำลำคลองสามารถใช้เลี้ยงปลาได้
น้ำประปาต้องทิ้งน้ำไว้ 3 วัน ก่อนถึงจะนำมาเลี้ยงปลาได้
การปรับสภาพน้ำ เปิดน้ำใส่บ่อจนเต็มจากนั้นใส่จุลินทรีย์ EM จำนวน 1 ลิตร ผสมกากน้ำตาล 1 กิโลกรัม และ
แร่แม๊กนีเซียม จำนวน 3 กิโลกรัม ทิ้งไว้ 5 – 7 วัน เพื่อเป็นการปรับสภาพน้ำและลดการเน่าเสียของน้ำ จากนั้นก็ปล่อยปลาลงเลี้ยงได้
การถ่ายเทน้ำ- ทำการเปลี่ยนถ่ายน้ำเมื่อน้ำเริ่มเสีย
- ไม่ควรถ่ายน้ำออกหมด เหลือน้ำเก่าไว้ 2/3
- เปลี่ยนถ่ายน้ำหลังให้อาหารแล้วไม่น้อยกว่า 3 ชั่วโมง
- น้ำที่ถ่ายออกสามารถนำไปรดพืชผักได้



วันอังคารที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ปลาดุกในประเทศไทย

ปลาดุกด้าน (อังกฤษ: Walking catfish, Batrachian walking catfish; ชื่อวิทยาศาสตร์:Clarias batrachus) เป็นปลาน้ำจืดในวงศ์ปลาดุก (Clariidae) มีรูปร่างค่อนข้างยาวเรียว ส่วนหางค่อนข้างแบน มีสีเทาปนดำ ส่วนท้องมีสีขาว สามารถเคลื่อนที่บนบกได้เป็นระยะทางสั้น ๆ โดยใช้ครีบ เรียกว่า "ปลาแถก" ขนาดเมื่อโตเต็มที่ประมาณ 50 เซนติเมตรพบได้ในพื้นที่ลุ่มน้ำโขงลุ่มน้ำเจ้าพระยาคาบสมุทรมาเลย์เกาะสุมาตราเกาะชวาเกาะบอร์เนียวฟิลิปปินส์ และมีรายงานว่าพบในศรีลังกาบังกลาเทศอินเดีย และพม่าถูกควบคุมการซื้อขายในประเทศเยอรมนี และมีรายงานจากบางประเทศว่าส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศหลังจากนำเข้าไป เนื่องจากเป็นเอเลี่ยนสปีชีส์ ปลาดุกด้านเป็นปลาที่ใช้เป็นอาหารชนิดสำคัญชนิดหนึ่ง และปลาสีเผือก ยังถูกเลี้ยงเป็นปลาสวยงามอีกด้วยในประเทศไทย ปลาดุกด้านถือเป็นปลาน้ำจืดเศรษฐกิจที่สำคัญอีกชนิดหนึ่ง ถูกนำมาปรุงเป็นอาหารต่าง ๆ เช่น ปลาดุกย่าง, ปลาดุกฟู หรือปลาหยอง เป็นต้นปลา

ดุกอุย หรือ ปลาดุกนา หรือ ปลาอั้วะชื้อ ในภาษาแต้จิ๋ว (อังกฤษ: Broadhead catfish, Günther's walking catfish; ชื่อวิทยาศาสตร์Clarias macrocephalus) เป็นปลาน้ำจืดในวงศ์ Clariidae มีกระดูกท้ายทอยยื่นแหลมออกไปลักษณะคล้ายรูปสามเหลี่ยม ลำตัวสั้นป้อมกว่าปลาดุกด้าน (C. batrachus) ซึ่งอยู่ในสกุลเดียวกัน ลำตัวมีสีดำปนเหลือง มีจุดขาวเล็ก ๆ เรียงเป็นแถวขวางลำตัวหลายแถว มีครีบหลังสูงกว่าปลาทั่วไปมาก สามารถเคลื่อนที่บนบกได้เป็นระยะทางสั้น ๆ โดยใช้ครีบช่วย พบได้ในพื้นที่แถบประเทศไทยไปจนถึงเวียดนามและมีการนำไปเลี้ยงในประเทศจีนมาเลเซียเกาะกวม และฟิลิปปินส์บางครั้งมีความเข้าใจผิดกันว่าปลาดุกอุยคือปลาดุกด้านตัวเมีย แต่ที่จริงเป็นปลาคนละชนิดกัน ปลาดุกอุยเป็นที่นิยมของผู้บริโภคชาวไทยและชาวลาวมากกว่าปลาดุกด้าน เนื่องจากเนื้อมีรสชาติมัน อร่อย มีราคาที่สูงกว่าปลาดุกด้าน จึงได้มีการเพาะเลี้ยงและผสมเทียมในบ่อ แต่ปัจจุบันได้นำมาผสมกับปลาดุกเทศ (C. gariepinus) เป็นปลาลูกผสม เรียกว่า "ปลาดุกบิ๊กอุย" ทำให้โตเร็วและเลี้ยงง่ายกว่าปลาดุกอุยแท้ ๆ ซึ่งได้มีการเพาะเลี้ยงอย่างแพร่หลายในภาษาใต้ เรียกปลาดุกอุยว่า "ปลาดุกเนื้ออ่อน"

ปลาดุกแอฟริกา เป็นปลาน้ำจืดในอันดับปลาหนังชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่าClarias gariepinus ในวงศ์ปลาดุก (Clariidae) มีลักษณะทั่วไปคล้ายปลาดุกด้าน (C. batrachus) ซึ่งเป็นปลาในสกุลเดียวกัน แต่มีส่วนหัวยาวกว่าและแนวระหว่างจะงอยปากถึงท้ายทอยเว้าและโค้งลาด ด้านบนของศีรษะขรุขระกว่า เมื่อมองจากด้านบนจะเห็นเป็นรูปสามเหลี่ยม ท้ายทอยแหลมเป็นโค้ง 3 โค้ง โดยส่วนกลางยื่นยาวมากที่สุด ลำตัวยาว ครีบหลังและครีบก้นยาว ลำตัวด้านบนมีสีน้ำตาลคล้ำอมเหลือง และมีลายแต้มแบบลายหินอ่อนบนลำตัว แก้มและท้องสีจาง ที่โคนครีบหางมีแถบตามแนวตั้งสีจาง ซึ่งเป็นลักษณะสำคัญของปลาชนิดนี้ ครีบมีสีเข้ามกว่าลำตัวเล็กน้อย บางตัวอาจมีขอบครีบสีแดงนับเป็นปลาที่ขนาดใหญ่สุดในสกุล Clarias ขนาดเมื่อโตเต็มที่ยาวได้ถึง 1.70 เมตรเป็นปลาพื้นเมืองของทวีปแอฟริกา พบได้ในตอนเหนือและตอนตะวันออกของทวีปสำหรับในประเทศไทยได้ถูกนำเข้ามาในปี พ.ศ. 2528 โดยเอกชนบางรายในจังหวัดหนองคายและอุบลราชธานี โดยนำเข้ามาจากประเทศลาวเพื่อเลี้ยงไว้ดูเล่น เนื่องจากมีขนาดลำตัวใหญ่กว่าปลาดุกทั่วไป ต่อมากรมประมงได้นำมาทดลองผสมข้ามพันธุ์กับปลาดุกอุย (C. macrocephalus) พบว่าลูกผสมระหว่างพ่อปลาดุกแอฟริกาและแม่ปลาดุกอุยมีผลการรอดสูง และมีการเจริญเติบโตเร็วที่สุด เนื้อมีรสชาติที่ดีขึ้น จึงส่งเสริมและแพร่วิธีการเพาะขยายพันธุ์และเลี้ยงดูสู่เกษตรกรอย่างกว้างขวาง จนปัจจุบันนี้ กลายเป็นปลาเศรษฐกิจที่ได้รับความนิยมชนิดหนึ่งของไทย และเรียกชื่อลูกปลาผสมนี้ว่า "ปลาดุกบิ๊กอุย"แต่ในปัจจุบัน สถานะของปลาดุกแอฟริกาในประเทศไทย จากบางส่วนได้หลุดรอดและถูกปล่อยลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ ทำให้เป็นสิ่งมีชีวิตต่างถิ่นชนิดหนึ่งที่คุกคามการอยู่รอดสัตว์น้ำพื้นเมืองของไทยสำหรับชื่ออื่น ๆ ที่เรียกปลาดุกแอฟริกา ก็ได้แก่ "ปลาดุกรัสเซีย", "ปลาดุกเทศ" เป็นต้นปลาดุกอุย
ปลาดุกอุยสีของผิวหนังค่อนข้างเหลือง มีจุดประตามตัวและบริเวณด้านข้างของลำตัวอย่างเด่นชัด เนื้อสีออกเหลือง มีมันมาก ลำคัวค่อนข้างทู่ ส่วนปลายของกระดูกท้ายทอยจะป้านและสั้นปลาดุกด้าน
ปลาดุกด้านสีของลำตัวค่อนข้างคล่ำเล็กน้อย เนื้อมีสีขาว มีมันน้อย ส่วนหัวค่อนข้างแหลมและส่วนปลายของกระดูกท้ายทอยมีลักษณะแหลมยาว ลักษณะดังกล่าว สังเกตเห็นได้ชัดเจนมาก 

มารู้จักปลาดุกบิ๊กอุยกันก่อน


 ปลาดุกบิ๊กอุยเป็นปลาดุกลูกผสมที่เกิดจากแม่พันธุ์ปลาดุกอุยผสมกับพ่อพันธุ์ปลาดุกยักษ์  โดยปลาดุกยักษ์มีถิ่นกำเนิดที่อาฟริกา  มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Clarias gariepinus  (African  sharpteeth  catfish)  ซึ่งประเทศไทยนำเข้าจากประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว  และจีนบางส่วน  เป็นปลาที่มีขนาดโต  กินอาหารได้ทุกชนิด  ทนทานต่อโรคและสภาพแวดล้อมดี  แต่ข้อเสียมีเนื้อเหลวและสีซีด  ไม่น่ารับประทาน  ส่วนปลาดุกอุยเป็นปลาพื้นเมืองไทย  มีเนื้อรสชาติดี  แต่ข้อเสียคือเลี้ยงโตช้า  คือต้องเลี้ยงถึง 6 – 8  เดือน  เมื่อนำมาผสมกันได้ลูกผสมที่โตเร็ว  และรสชาติคล้ายปลาดุกอุยมาก     และช่วงระยะเวลาที่ใช้ในการเลี้ยงสำหรับตลาดประเทศไทย    คือ  80 – 100  วัน  ได้ปลาขนาด  3 – 4  ตัว  ต่อกิโลกรัมลักษณะทั่วไป  ปลาดุกบิ๊กอุย  มีลักษณะก้ำกึ่งระหว่างแม่ปลาดุกอยุและพ่อปลาดุกยักษ์  กระโหลกที่ท้ายทอยแหลมเป็น  3  หยัก  รสชาติดี  เนื้อเป็นสีเหลือง  และไม่เหลว  จึงเป็นที่นิยมของคนไทย

การเลี้ยงพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ปลาดุกบิ๊กอุย
จำหน่ายพันธุ์ปลาดุกบิ๊กอุย
ในการเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ปลาดุกบิ๊กอุยให้มีการเจริญเติบโตดี มีความ
แข็งแรงเพื่อให้ได้ลูกพันธุ์ปลาดุกที่มีความแข็งแรง โตไว ทนต่อโรค
นั้น ควรเลี้ยงพ่อแม่ปลาดุกในบ่อดินขนาดพื้นที่ตั้งแต่ 100 ตารางเมตรขึ้นไป ซึ่งในการเลี้ยงดูพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ปลาดุกนั้นควรปล่อยในอัตราส่วนที่ปลาอยู่ร่วมกันแล้วไม่หนาแน่นจนเกินไปประมาณ 25 ตัวต่อตารางเมตร ความลึกของบ่อเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ประมาณ 2 เมตร อีกทั้งเพื่อเป็นการกระตุ้นให้พ่อพันธุ์แม่พันธุ์ปลาดุกกินอาหารดี โตไว ออกไข่สมบูรณ์ควรมีการถ่ายเทน้ำบ่อยๆ เพื่อให้คุณภาพของน้ำที่ใช้เลี้ยงอยู่ในเกณฑ์ดี ไม่มีสิ่งเน่าเสียจนทำให้ปลากินอาหารได้น้อย พ่อแม่พันธุ์ปลาดุกที่ใช้ในการผสมพันธุ์จะต้องมีอายุตั้งแต่ 1 ขึ้นไป
พันธุ์ปลาดุกจะถึงฤดูกาลผสมพันธุ์ ประมาณช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนตุลาคมของทุกปี ช่วงฤดูหนาวจะไม่มีการผสมพันธุ์ประมาณช่วงเดือนกุมภาพันธ์หากอากาศไม่หนาวทางประทีปพันธุ์ปลาจะเริ่มทำการคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ปลาดุกที่มีคุณภาพไข่แก่สมบูรณ์ บางส่วนมาเริ่มทำการผสมเทียม ส่วนใหญ่ผู้ที่เลี้ยงปลาดุกชุดแรกๆของปีจะได้ราคาปลาเมื่อจับขายดีมากๆ ดังนั้นจึงทำให้พันธุ์ปลาดุกในช่วงต้นๆปีมีราคาสูงไปด้วย เพราะการเพาะพันธุ์ปลาดุกทำได้ยากและผลผลิตของทางฟาร์มยังน้อยอยู่ หากหลังเดือนเมษายนไปแล้วราคาพันธุ์ปลาก็จะปกติคงที่ หากสนใจสอบถามราคาพันธุ์ปลาดุก สามารถติดต่อสอบถามเจ๊ประนอม โทร 089-856-3941 www.Bestfish4u.com

การคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ปลาดุก เพื่อกระบวนการผสมเทียม
จำหน่ายพันธุ์ปลาดุกบิ๊กอุย
พ่อและแม่พันธุ์ปลาดุกที่จะนำมาใช้ในกระบวนการผสมพันธุ์นั้น จะต้องเป็นปลาดุกที่มีรูปร่างสมบูรณ์แข็งแรง ไม่เป็นโรค ผิวสวย และอายุปลาตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป
ลักษณะของพ่อแม่พันธุ์ปลาดุกที่พร้อมผสมพันธุ์
ในการผสมพันธุ์ปลาดุกบิ๊กอุย จะใช้แม่ปลาดุกอุยแท้ในการนำมาผสมเทียม ซึ่งลักษณะของปลาดุกอุยตัวเมียที่ดี ให้สังเกตุบริเวณท้องของแม่ปลาดุกอุยจะอูมป่อง (บริเวณใต้คีบ) ท้องของแม่ปลาจะต้องไม่นิ่มหรือแข็งจนเกินไป บริเวณติ่งเพศจะมีลักษณะกลม สีแดงหรือชมพูอมแดง เมื่อเอามือบีบที่ท้องแม่ปลาเบาๆจะมีไข่เล็กๆเม็ดกลมสีน้ำตาลอ่อนไหลออกมา แม่พันธุ์ปลาดุกอุยที่ใช้ควรมีน้ำหนักตัวประมาณ 3ถึง 4 ตัว / กิโลกรัม สำหรับน้ำหนักรวมของแม่พันธุ์ปลาดุกอุยที่ใช้ในการผสมเทียมแต่ละครั้งรวมกันประมาณ 25 กิโลกรัม จะสามารถเพาะพันธุ์ปลาดุกบิ๊กอุยได้ประมาณ 1 ล้านตัว ขึ้นอยู่กับฤดูกาล อุณหภูมิ และความสมบูรณ์ของไข่ปลาด้วย
สำหรับพ่อพันธุ์ของปลาดุกบิ๊กอุยคือปลาดุกยักษ์หรือปลาดุกรัสเซีย ลักษณะของปลาดุกรัสเซียตัวผู้ที่ดี จะมีติ่งเพศยาวเรียว มีสีออกชมพู โดยพ่อพันธุ์ปลาดุกรัสเซียที่นำมาใช้ในการผสมเทียมจะต้องมีน้ำหนักตัวประมาณ 1 กิโลกรัมขึ้นไป
ขั้นตอนการผสมเทียมพันธุ์ปลาดุกบิ๊กอุย
การฉีดฮอร์โมน
การฉีดฮอร์โมนให้กับพ่อแม่พันธุ์ปลาดุกเพื่อกระตุ้นให้ได้ไข่และน้ำเชื้อออกมาผสมเทียมภายนอก ตำแหน่งที่เหมาะสมที่สุดในการฉีดฮอร์โมนให้กับพ่อและแม่พันธุ์ปลาดุกคือบริเวณกล้ามเนื้อใต้ครีบหลังส่วนต้นเหนือเส้นข้างตัว โดยแทงเข็มฉีดยาทำมุมเอียงกับลำตัวของพ่อแม่พันธุ์ปลาประมาณ 30 องศา แทงลึก 2 เซนติเมตร แล้วฉีดฮอร์โมนที่เตรียมไว้เข้าไป
ในกรณีที่ต้องฉีดฮอร์โมน 2 ครั้ง ให้ฉีดสลับข้างกับครั้งแรก หลังจากทำการฉีดฮอร์โมนให้กับปลาแล้ว ให้นำพ่อแม่พันธุ์ปลาไปปล่อยบ่อที่เตรียมไว้โดยใส่น้ำในระดับที่ท่วมหลังพ่อ-แม่พันธุ์ปลาเท่านั้น ถ้าหากเราใส่น้ำมากเกินไปอาจทำให้ปลาจะบอบช้ำมาก
การรีดไข่แม่ปลาพันธุ์ปลาดุกบิ๊กอุย
จำหน่ายพันธุ์ปลาดุกบิ๊กอุย
การรีดไข่จากแม่ปลาดุกอุยโดยวิธีกึ่งเปียก
การรีดไข่ของแม่ปลาดุกอุย จะใช้วิธีการรีดไข่แบบกึ่งเปียก โดยการนำแม่พันธุ์ปลาดุกอุยที่ได้รับการฉีดฮอร์โมนจนกระทั่งไข่ในท้องแก่เต็มที่ มารีดไข่ใส่ในกะละมังเคลือบผิวเรียบ โดยทำการจับบริเวณส่วนหัวและส่วนหางของแม่พันธุ์ปลาดุกอุยจากนั้นทำการรีดไข่โดยรีดเบาๆจนท้องส่วนบนมาถึงส่วนล่าง
ไข่ของแม่ปลาดุกอุยมีลักษณะไข่แต่ละเม็ดติดกัน ไข่ที่ดีควรมีลักษณะกลม มีน้ำตาลเข้ม
การผ่าเอาถุงน้ำเชื้อจากพ่อพันธุ์ปลาดุกบิ๊กอุย
จำหน่ายพันธุ์ปลาดุกบิ๊กอุย
หลังจากที่ได้ไข่ที่แก่จัดจากแม่ปลาดุกแล้ว ต่อไปเป็นขั้นตอนการผ่าท้องพ่อพันธุ์ปลาดุกรัสเซียเพื่อเอาถุงน้ำเชื้อมาผสมเทียม น้ำเชื้อที่ได้จากพ่อพันธุ์ปลาดุกรัสเซียตัวผู้ หนึ่งตัวสามารถนำมาผสมกับไข่ของแม่พันธุ์ปลาดุกอุยประมาณ 10 ตัวทีเดียว
การผสมน้ำเชื้อกับไข่
จำหน่ายพันธุ์ปลาดุกบิ๊กอุย
นำถุงน้ำเชื้อที่เตรียมไว้มาขยี้ให้ละเอียดผสมกับน้ำเกลือเข้มข้น จากนั้นเทน้ำเชื้อรวมกับไข่ปลาดุกอุยที่เตรียมไว้
จำหน่ายพันธุ์ปลาดุกบิ๊กอุย
ทำการผสมไข่จากแม่ปลาดุกอุยกับน้ำเชื้อจากพ่อปลาดุกยักษ์ โดยการคนเบาๆด้วยขนไก่ให้เข้ากันอย่างทั่วถึง
การฟักไข่
จำหน่ายพันธุ์ปลาดุกบิ๊กอุย
มาถึงขั้นตอนสุดท้ายของการผสมพันธุ์ปลาดุกบิ๊กอุยแล้ว นั่นคือการนำไข่และน้ำเชื้อที่ผสมให้เข้ากันไปฟักในบ่อเพาะพันธุ์ปลาซึ่งเป็นบ่อคอนกรีตสี่เหลี่ยมผืนผ้าดังรูป โดยทำการเทไข่ปลาดุกลงสู่มุ้งสี่เหลี่ยมดังรูป ในบ่อเพาะให้เปิดน้ำไหลผ่านตลอดเวลา (บ่อฟักลูกปลาควรสะอาด มาตราฐาน ใกล้แหล่งน้ำ มีหลังคาป้องกันแสงแดดและน้ำฝนได้ )
ลูกปลาดุกตุ้ม
พันธุ์ปลาดุกบิ๊กอุย จะใช้เวลาในการฟักตัวประมาณ 24 ชั่วโมง
อนุบาลลูกปลาดุก
จากนั้นจะนำพันธุ์ปลาดุกบิ๊กอุยลงสู่บ่ออนุบาลเพื่อเตรียมจัดจำหน่ายให้แก่ผู้เลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุยทั่วไทย สุดท้ายหากต้องการเลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุย อย่าลืมนึกถึงประทีปพันธุ์ปลา
 
การเพาะเลี้ยงพันธุ์ปลาดุกบิ๊กอุย โดยประทีปพันธุ์ปลา