วันพฤหัสบดีที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2558

การให้อาหารปลาดุก

วิธีการเลี้ยงและการให้อาหาร
บ่อเลี้ยงปลาดุกควรพิจารณาเป็นพิเศษ แตกต่างจากการเลี้ยงปลาชนิดอื่น ทั้งนี้ทั้งนั้น เนื่องจากปลาดุกมีนิสัยชอบหนีออกจากบ่อเลี้ยง โดยเฉพาะขณะที่ฝนตกน้ำไหลลงในบ่อ ปลาจะว่ายทวนน้ำออกไป การป้องกันโดยการล้อมขอบบ่อด้วยตาข่ายไนล่อนก่อน ซึ่งให้มีความสูงประมาณ 50 ซม. อัตราการปล่อยในเนื้อที่ 1 ตารางเมตร ควรปล่อยปลาประมาณ 60 ตัว สำหรับบ่อปลาที่มีการถ่ายเทน้ำได้สะดวก จะเพิ่มจำนวนปลาให้มากกว่านี้เล็กน้อยก็ได้ แต่ไม่ควรปล่อยปลาให้แน่นจนเกินไป เพราะจะทำให้ปลาโตช้าและทำอันตรายกันเอง

อาหาร

ปลาดุกเป็นปลาที่มีนิสัยการกินอาหารได้ทั้งเนื้อและพืช ซึ่งพอจะแบ่งได้ดังนี้
1. อาหารจำพวกเนื้อ ได้แก่ เนื้อปลา เนื้อสัตว์ต่างๆ ที่เหมาะสมตามที่จะหาได้ หรือเครื่องในสัตว์ตลอดจนเลือดสัตว์ และพวกแมลง เช่น ปลวก หนอน ไส้เดือนฯลฯ
2. อาหารจำพวกพืชผัก ได้แก่ รำข้าว ปลายข้าว กากถั่ว กากมัน แป้ง ข้าวโพด และผักต่างๆ เพื่อเป็นการเพิ่มอาหาร อาจให้มูลสัตว์ เช่น มูลไก่ มูลหมู มูลสัตว์เหล่านี้จะเป็นอาหารทั้งทางตรงและทางอ้อมแก่ปลาดุกได้เป็นอย่างดี
โดยทั่วไปแล้วปลาดุกชอบกินอาหารประเภทเนื้อสัตว์ มากกว่าอาหารประเภทพืช แต่การให้อาหารประเภทเนื้อสัตว์เพียงอย่างเดียว จะทำให้ปลาเจริญเติบโตไม่ได้สัดส่วน เช่น อาจทำให้ตัวอ้วนสั้น มีไขมันมากเกินไป ดังนั้น เพื่อให้ปลาโตได้สัดส่วนมีน้ำหนักดี ควรให้อาหารประเภทเนื้อในอัตรา 30-50 % ของอาหารประเภทพืช
บริเวณที่ให้อาหารในแต่ละครั้งควรให้อาหารในที่เดียวกัน และควรให้อาหารเป็นเวลา เพื่อฝึกให้ปลารู้เวลาและกินอาหารเป็นที่ ปริมาณการให้อาหารควรให้อาหาร 5 % ของน้ำหนักตัวต่อวัน
ปัจจุบันการเลี้ยงปลาดุกจะใช้อาหารสำเร็จรูปและจะเสริมพวกอาหารสด เพื่อเป็นการลดต้นทุนค่าอาหาร และทำให้ปลาโตเร็ว แต่ข้อเสียของการให้อาหารสดคือ จะทำให้น้ำเสียได้ง่าย ดังนั้นควรมีการเปลี่ยนถ่ายน้ำบ่อยๆ ประมาณเดือนละ 1-2 ครั้ง

สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงปลาดุกในบ่อดินคือ ลูกปลาดุกที่ไม่สามารถกินอาหารเม็ดเล็กได้ และมีอัตราการตายสูง ทำให้ต้องขบคิดแก้ไขปัญหานี้ คุณนิพนธ์ จึงลองใช้วิธีต่างๆจนประสบความสำเร็จในระดับที่พอใจตนเองและนำไปถ่ายทอดกับเพื่อนๆสมาชิกที่เลี้ยงปลาดุกในบ่อดินด้วยกัน ทำให้ปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นคลี่คลายลงได้ 

การให้อาหารลูกปลาดุกและลดอัตราการตายของปลาดุกในบ่อดิน 

คุณนิพนธ์ บุญเต็ม เกษตรกรผู้เลี้ยงปลาดุกในบ่อดิน กล่าวแนะนำเกษตรกรที่เลี้ยงปลาดุกในบ่อดิน ว่า
1.การเลี้ยงปลาดุกในบ่อดิน เรื่องการให้อาหาร เมื่อปล่อยลูกปลาดุกลงในบ่อดินแล้ว อาหารที่ให้ในช่วงที่ลูกปลาดุกมีขนาดเล็ก ( 2-3 ซม.) โดยใช้อาหารปลาดุกเม็ดใหญ่ผสมกับน้ำ คลุก-ขยำให้เข้ากัน จนสามารถปั้นเป็นก้อนได้ จากนั้นปั้นเป็นก้อนให้ลูกปลาดุกกิน โดยให้กินวันละ 2 ครั้ง หว่านให้กินทั่วบ่อ หรือปั้นเป็นก้อนขนาดเท่ากับกำปั้นวางไว้บริเวณขอบบ่อ ทุกมุมบ่อเพื่อให้ลูกปลาดุกไปกินได้โดยไม่ถูกตัวอื่นๆแย่งและกินได้อย่างทั่วถึง ลูกปลาดุกไม่กัดกันเองไม่เสี่ยงต่อการเกิดอัตราการตายได้

2.เมื่อลูกปลาดุกได้ขนาดประมาน 15 ซม. จำเป็นต้องเปลี่ยนการให้อาหาร อาจจะเป็นอาหารเม็ดอย่างเดียวก็ได้ แต่แนะนำว่าควรมีการเสริมด้วยอาหารอื่นๆซึ่งอาจจะช่วยในการลดต้นทุนอาหารเม็ดหรืออาหารสำเร็จรูปด้วย ปลารวมหรือปลาเป็ด โดยนำปลาเป็ดบดให้ละเอียดแล้วนำไปผสมกับผสมรำละเอียดในอัตราส่วน 9 : 1 แล้วปั้นเป็นก้อนวางไว้มุมบ่อหรือหว่านลงบ่อก็ได้ วิธีนี้จะช่วยในการประหยัดต้นทุนในการเลี้ยงปลาดุกได้ หรือพื้นที่ใดไม่มีปลาเป็ดอาจจะเปลี่ยนเป็น กระดูกไก่ ไส้ไก่ เศษขนมปัง เศษเส้นหมี่ เศษเลือดหมู เลือดไก่ นำมาบดรวมกันแล้วผสมกับรำในอัตราส่วนเช่นเดิมให้ปลากิน แต่ควรระมัดระวังเรื่องคุณภาพของน้ำในบ่อเลี้ยงด้วย

3.เมื่อเลี้ยงปลาดุกในบ่อดินได้ระยะเวลา 3-4 เดือนควรมีการแยกบ่อปลาดุกเพราะปริมาณปลาดุกในบ่อแออัดมากเกินไป ทำให้เกิดอัตราการตายได้สูง ส่งผลกระทบกับรายได้และรายจ่ายของเกษตรกรผู้เลี้ยงได้ จึงแนะนำให้เกษตรกรแยกปริมาณปลาดุกหรือย้ายปลาดุกไปอีกบ่อ เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นนั้นเอง

เกษตรกรผู้เลี้ยงปลาที่ต้องการเลี้ยงปลาดุกในบ่อดินนำข้อมูลไปประยุกต์ใช้จะสามารถลดอัตราการตายของลูกปลาดุกในบ่อดิน ลดต้นทุนอาหารของการเลี้ยงปลาดุกได้เป็นอย่างดี

การเลือกอาหารปลา
ถือเป็นเรื่องที่สำคัญลำดับต้นๆ ของการเลี้ยงปลาดุก เพราะต้นทุนกว่า 80% ของการเลี้ยงปลาดุกอยู่ที่อาหารครับ เราจึงต้องพิถีพิถันในการเลือกอาหารปลาให้มาก ไม่ว่าจะเป็นสีสัน กลิ่น ขนาดของเม็ด การลอยตัวในน้ำ ล้วนต้องเอาใจใส่มากๆเลย
1. เลือกอาหารให้เหมาะกับอายุของปลาด้วย หากเลือกไม่เหมาะสม จะทำให้ปลากินอาหารไม่ได้ หรือ การให้อาหารไม่เพียงพอครับ
- ลูกปลาดุกขนาด 1-4 เซ็นติเมตร เลือกใช้อาหารปลาดุกขนาดเล็กพิเศษ
- ลูกปลาดุกขนาด 3 เซ็นติเมตร เลือกใช้อาหารสำหรับปลาดุก 1-3 เดือน
2. ขนาดของเม็ดต้องใกล้เคียงกัน ไม่มีกลิ่นหืน  ไม่เป็นฝุ่น
3. การลอยตัวในน้ำ ไม่ควรจมลมเร็วเกินไปครับ เพราะนั่นหมายถึงอาหารปลาอาจจะมีความชื้นมากเกินไป
4. ระวังอาหารปลาที่ขึ้นราด้วยนะครับ เพราะจะเป็นสาเหตุให้ลูกปลาตายได้จำนวนมากครับ

การให้อาหารปลาดุก

อาหารนับเป็นปัจจัยสำคัญ เนื่องจากต้นทุนการเลี้ยงปลาดุกประมาณ 60-70 เปอร์เซ็นต์เป็นค่าอาหาร อาหารที่ใช้เลี้ยงหากมีสารอาหารต่างๆ ครบถ้วนและมีปริมาณเพียงพอ จะส่งผลให้ปลามีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง ปราศจากโรคต่างๆ อาหารที่ใช้เลี้ยงต้องมีสารอาหารครบถ้วนปริมาณเพียงพอ และจะต้องมีความสมดุลกันระหว่างสารอาหารแต่ละชนิดด้วย

ปลาดุกเป็นปลาที่กินอาหารได้ทั้งเนื้อและผัก ซึ่งพอจะแบ่งออกเป็นพวกได้ดังนี้
1. อาหารจำพวกเนื้อ ได้แก่ เนื้อปลาและเนื้อสัตว์ต่างๆ ที่เหมาะสมตามแต่จะหามาได้ หรือเครื่องใน เช่น เครื่องในวัว ไก่ และสุกร ตลอดจนเลือดสัตว์และพวกแมลงต่างๆ เช่น ปลวก หนอน ตัวไหม และไส้เดือน เป็นต้น
2. อาหารจำพวกพืชผัก ได้แก่ รำข้าว ปลายข้าว กากถั่ว กากมัน แป้ง ข้าวโพด แป้งมัน เป็นตัน และผักต่างๆนอกจากนี้เพื่อเป็นการเพิ่มอาหารให้กับปลา ผู้เลี้ยงอาจจะใส่มูลสัตว์ เช่น มูลไก่ สุกร แพะ ฯลฯ โดยสร้างคอกเลี้ยงสัตว์ให้อยู่ใกล้กับบ่อเลี้ยงปลา ซึ่งมูลสัตว์เหล่านี้จะเป็นอาหารทั้งทางตรงและทางอ้อมแก่ปลาดุกเป็นอย่างดี

โดยทั่วไปแล้วปลาดุกชอบกินอาหารประเภทเนื้อสัตว์มากกว่าอาหารประเภทพืชและแป้ง แต่การให้อาหารประเภทเนื้อสัตว์เพียงอย่างเดียวจะทำให้ปลาเจริญเติบโตไม่ได้สัดส่วน เช่น อาจทำให้ตัวอ้วนสั้น มีไขมันมากเกินไป ดังนั้นเพื่อให้ปลาเจริญเติบโตได้สัดส่วนและน้ำหนักดี ควรจะให้อาหารประเภทเนื้อในอัตรา 30-50 เปอร์เซ็นต์ ของอาหารประเภทผักและแป้ง

ลักษณะของอาหาร
อาหารที่ใช้เลี้ยงปลาดุกในปัจจุบัน แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ อาหารสำเร็จรูปชนิดเม็ดลอยน้ำและจมน้ำ และอาหารสด

1. อาหารสำเร็จรูป มีระดับโปรตีนที่แตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนาดของปลาที่จะให้ มีหลายยี่ห้อและราคาแตกต่างกันไป วิธีการให้อาหารสำเร็จรูปค่อนข้างง่าย เพียงแต่สาดอาหารลงในบ่อเลี้ยงให้ปลากินก็เสร็จแล้ว แต่การเลือกซื้ออาหารสำเร็จรูปนั้นจะต้องพิจารณาจากความคงทนในน้ำ ควรอยู่ในน้ำได้นานไม่ต่ำกว่า 15 นาที ส่วนประกอบของอาหารควรละเอียด มิฉะนั้นจะย่อยยาก และราคาต้องเหมาะสมด้วย

2. อาหารสด ได้แก่ ไส้ไก่ ไส้ปลา ปลาเป็ด หรือเศษอาหารจากโรงงาน อาหารเหล่านี้สามารถหาซื้อได้ราคาถูก ควรนำมาใช้เสริมให้แก่ปลาด้วย ก่อนนำมาใช้ควรบดให้ละเอียดและผสมรำ การให้อาหารควรให้กินเป็นที่ และควรให้ที่เดิมทุกครั้ง อย่าสาดทั่วบ่อ เพราะจะทำให้น้ำเสียได้ง่ายขึ้น ติดโรคได้ง่าย การถ่ายน้ำบ่อยครั้งจะทำให้ปลาโตเร็วขึ้น เพราะการที่ปลาได้น้ำใหม่บ่อยๆ ทำให้ปลามีความกระปรี้กระเปร่าและกินอาหารได้มาก

เมื่อเลี้ยงไปได้ระยะหนึ่งน้ำในบ่อจะมีคุณภาพเสื่อมลง เนื่องจากสิ่งขับถ่ายออกมาจากตัวปลาและเศษอาหารที่เหลือตกค้างในบ่อ จึงจำเป็นต้องมีการเปลี่ยนน้ำโดยระบายน้ำออกประมาณ 3/4 ของน้ำในบ่อ และเติมน้ำใหม่เข้ามาแทนที่ จำนวนครั้งของการถ่ายน้ำออกจากบ่อขึ้นอยู่กับปริมาณอาหารที่ให้ หากกำหนดปริมาณอาหารให้เหมาะสมให้ปลากินได้หมด การถ่ายเทน้ำจะมีจำนวนน้อยครั้ง ทั้งนี้ต้องสังเกตการกินอาหารของปลาประกอบไปด้วย หากปลากินอาหารน้อยลงจากปกติหรือมีอาหารเหลือลอยอยู่ในบ่อมาก ก็ถึงเวลาที่จะต้องถ่ายเทน้ำเพื่อช่วยปลาไม่ให้ตาย เนื่องจากน้ำเสีย หรือในบ่อมีกลิ่นมาก สีของน้ำเปลี่ยนเป็นสีขาวขุ่นคล้ายน้ำข้าวต้องรีบเปลี่ยนน้ำทันที หากจำเป็นไม่อาจถ่ายเทน้ำได้ในช่วงนี้ ต้องใช้เกลือแกงในอัตรา 3-4 กิโลกรัมต่อน้ำ 10 ลูกบาศก์เมตร สาดไปทั่วบ่อหลังจากนั้น 3-4 วันจึงเปลี่ยนน้ำใหม่ โดยปกติแล้วการถ่ายเทน้ำในบ่อ เมื่อปลายังมีขนาดเล็กจะมีการถ่ายเทน้อยครั้ง และเมื่อปลาโตขึ้นจำนวนครั้งการถ่ายน้ำในแต่ละเดือนจะมีมากขึ้นตามไปด้วย
นอกจากการเอาใจใส่วิธีการหรือเทคนิคในการเลี้ยงปลาดุกแล้วเรื่องของอาหารก็สำคัญไม่แพ้กัน วันนี้เราจึงอยากเสนอสูตรการทำอาหารปลาดุกเองแบบง่ายๆมานำเสนอให้ผู้คนที่สนใจอยากลองทำอาหารเลี้ยงปลาดุกของตัวเองกันครับ การทำอาหารเองนั้นจะทำให้เราสามารถมั่นใจได้เลยว่าอาหารที่ให้ปลาดุกของเรามีคุณภาพมากน้อยเพียงใดเพราะเราเป็นคนปรุงส่วนผสมเองทั้งหมด ซึ่งนับว่าเป็นการช่วยประหยัดและลดต้นทุนค่าใช้จ่ายไปในตัอีกด้วย 
สูตรการทำอาหารปลาดุกไว้ใช้เอง อย่างง่ายๆและได้ผลดี

วัสดุที่ต้องเตรียม

  1. รำละเอียด 2 กระสอบปุ๋ย
  2. กากมะพร้าว 1 กระสอบปุ๋ย
  3. ปลาป่น 6 กิโลกรัม
  4. กากถั่วเหลือง 6 กิโลกรัม
  5. จุลินทรีย์ EM 1 ลิตร
  6. กากน้ำตาล 1 กิโลกรัม
  7. น้ำมันพืช 1 / 2 ลิตร

ขั้นตอนวิธีการทำอาหารปลาดุก

  1. นำส่วนผสมข้อ 1 1 กระสอบ ข้อ 2,3,4 คลุกให้เข้ากัน
  2. นำส่วนผสม ข้อ 5,6 ผสมน้ำ 20 ลิตร เพื่อคลุกเคล้าส่วนผสม ข้อ 1 หมักไว้ 12 ชั่วโมง
  3. นำส่วนผสมที่หมักไว้ในข้อ 1,2 ผสมกับรำละเอียด 1 กระสอบและน้ำมันพืช 1 ? 2 ลิตรคลุกเคล้านำเข้าเครื่องอัดเม็ดผึ่งแดด 2 วัน เก็บไว้ได้ 2 เดือน












3 ความคิดเห็น:

  1. ตามสูตรอาหารนี้ จะได้โปรตีน เท่าไรครับ

    ตอบลบ
  2. จะทดลองทำดู กกติให้แต่อาหารเม็ด
    https://www.youtube.com/watch?v=ynhFEVwBfRk

    ตอบลบ
  3. ปลาดุกบิ้กอุย​ ส่วนมากเป็นปลากินเหนือผิวน้ำ​ หรือว่ากินหน้าดินครับ​??

    ตอบลบ